ข้อมูลพรรณไม้ตามโครงการอนุลักษณ์พันธุ์กรรมพืช
ข้อมูลพรรณไม้(วัดวิเชตร์มณี ม.4 ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย)
   
ชื่อพันธุ์ไม้ มะเกี๋ยง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cleistocalyx nervosum (DC.) Kosterm. var. paniala (Roxb.) J. Parn. & P. Chantaranothai หรือ Cleistocalyx nervosum var. Paniala
ชื่อวงค์ MYRTACEAE
ชื่อสามัญ Sunrose Willow , Creeping Water Primrose
ชื่ออื่นๆ หว้าน้ำ (พังงา) , หว้าส้ม (ชุมพร,สุราษฎ์รธานี)
ลักษณะทั่วไป ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูงประมาณ 10-15 เมตร หรือมากกว่า เปลือกลำต้นมีสีเทาหรือน้ำตาลอมเทา เปลือกแก่ด้านนอกหลุดล่อนออกเป็นแผ่น เมื่อใช้มีดสับเปลือกด้านในจะมีสีน้ำตาลอมชมพู แต่เมื่อแห้งจะมีสีน้ำตาล ส่วนเนื้อไม้ค่อนข้างแข็ง มีสีขาวนวลหรือเหลืองอ่อน
ใบ ออกเป็นใบเดี่ยวตรงข้ามกันเป็นคู่บนกิ่งย่อย จำนวน 4-6 คู่ ในแต่ละกิ่งย่อย ใบมีรูปรีถึงรูปหอก ใบมีลักษณะเป็นคลื่น และเป็นมันเล็กน้อย แผ่นใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างมีสีเขียวอ่อน มีเส้นกลางใบด้านบน เป็นร่องตื้น ส่วนเส้นกลางใบด้านล่างนูนขึ้นมองเห็นได้ชัดเจน มีเส้นแขนงใบแยกออกซ้ายขวาสลับกัน ใบอ่อนมีสีเขียวอมแดง ใบแก่มีสีเขียว
ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกมีสีขาวอมเหลือง มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ และมีกลีบดอก 4 กลีบ
ผล มีลักษณะเป็นรูปไข่คล้ายผลหว้า แต่เล็ก และป้อมกว่าเล็กน้อย ผลมีเปลือกบาง ผลอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมชมพู ต่อมาเป็นสีแดงเมื่อห่าม เมื่อสุกเป็นสีแดงม่วง และสุกมากเป็นสีดำ เนื้อผลมีสีขาว เมื่อรับประทานจะให้รสเปรี้ยวอมฝาดเล็กน้อย และมีกลิ่นหอม ตรงกลางผลมีเมล็ด 1 เมล็ด
เมล็ด มีลักษณะกลมหรือค่อนข้างเป็นรูปไข่ เปลือกเมล็ด มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อเมล็ดภายในมีสีเขียว
ช่วงเวลาการออกดอก : ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
ประโยชน์ สรรพคุณ/การใช้ประโยขน์ : การศึกษาสารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยงที่มีต่อการต้านอนุมูลอิสระ พบว่า สารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยงมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระได้ดี การศึกษาสารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยงเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในสารลดริ้วรอย พบว่าครีม และเจลมะเกี๋ยงมีคุณสมบัติลดริ้วรอย และออกฤทธิ์ฤทธิ์ต้านอนุ