ข้อมูลพรรณไม้ตามโครงการอนุลักษณ์พันธุ์กรรมพืช
ข้อมูลพรรณไม้(วัดวิเชตร์มณี ม.4 ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย)
   
ชื่อพันธุ์ไม้ พญาสัตบรรณ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris (L.) R. Br.
ชื่อวงค์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ Devil tree, White cheesewood, Devil bark, Dita bark, Black board tree
ชื่ออื่นๆ หัสบัน สัตบรรณ สัตตบรรณ จะบัน บะซา ปูลา ปูแล ตีนเป็ด ตีนเป็ดขาว ตีนเป็ดไทย ต้นตีนเป็ด
ลักษณะทั่วไป ลักษณะทั่วไป : พรรณไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาเป็นชั้น ๆ (เหมือนฉัตร) มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เปลือกต้นหนาเปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาล เมื่อกรีดจะมียางสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ นอกจากนี้ต้นพญาสัตบรรณยังจัดเป็น ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครอีกด้วย
ช่วงเวลาการออกดอก : ช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม
เวลาที่ดอกหอม: ช่วงเย็น - มืด หรือช่วงที่มีอากาศเย็น
ประโยชน์ สรรพคุณ : ราก ขับลมในลำไส้ แก้ไข้ แก้โรคมะเร็ง
เปลือก แก้ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ท้องร่วง สมานลำไส้ ขับพยาธิไส้เดือน ขับระดู ขับน้ำเหลืองเสีย ช่วยเจริญอาหาร ขับน้ำนม รักษามาลาเรีย แก้ไอ แก้บิด รักษาเบาหวาน
ใบ แก้ไข้หวัด แก้ไข้ตัวร้อน พอกดับพิษต่างๆ
ใบอ่อน ชงดื่ม รักษาโรคลักปิดลักเปิด
ดอก แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้เหนือ แก้โลหิต
ยาง รักษาแผลเน่าเปื่อย แก้ปวดหู เป็นยาบำรุงกระเพาะภายหลังเจ็บไข้
การใช้ประโยขน์ : ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ปลูกง่ายโตเร็ว ราคาต้นถูก และปลูกได้ทั่วไป ไม่ต้องการการดูแลมากนัก ใบไม่ค่อยร่วง ทรงพุ่มค่อนข้างทึบ สามารถปลูกเป็นไม้ที่ให้ร่มเงาได้ดี ออกดอกพร้อมๆ กันตลอดทั้งต้น สวยงามมาก ปลูกได้ดี ในเกือบทุกสภาพดินตั้งแต่พื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้งถึงพื้นที่ชุ่มน้ำ