ข้อมูลพรรณไม้ตามโครงการอนุลักษณ์พันธุ์กรรมพืช
ข้อมูลพรรณไม้(วัดวิเชตร์มณี ม.4 ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย)
   
ชื่อพันธุ์ไม้ กางขี้มอด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia odoratissima (L.f.) Benth
ชื่อวงค์ : FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE (วงศ์ถั่ว) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE
ชื่อสามัญ Black Siris, Ceylon Rose Wood, Crofton weed
ชื่ออื่นๆ กางแดง คางแดง (แพร่), จันทน์ (ตาก), มะขามป่า (น่าน), ตุ๊ดเครน (ขมุ)
ลักษณะทั่วไป ลักษณะทั่วไป : พรรณไม้ยืนต้น มีความสูงได้ประมาณ 10-30 เมตร กิ่งก้านลู่ลง ปลายยอดและกิ่งอ่อนมีรอยแผล มีรูอากาศตามลำต้นและกิ่ง เปลือกต้นเป็นสีเทาอมเหลืองหรือสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด เปลือกชั้นในเป็นสีแดง มีเขตในประเทศไทย พบขึ้นตามป่าดิบเขาและป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงถึง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ ออกเรียงสลับแบบตรงข้าม มีใบย่อยประมาณ 10-25 คู่ แผ่นใบเรียบบาง ใบย่อยมีขนาดเล็ก ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานหรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบมนหรือสอบ โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ผิวใบทั้งสอง ด้านเกลี้ยง
ดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นที่ปลายยอด ช่อดอกย่อยประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอกรวมกันเป็นกลุ่ม ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาวนวล กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีขน ปลายแยกออกเป็น 6 แฉก ส่วนกลีบดอกเป็นรูปกรวย ผิวมีขน ปลายแยกเป็นแฉก ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นสีขาวจำนวนมาก ยาวเท่าหลอดกลีบดอก โคนก้านเกสรเพศผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ออกดอกในช่วงประมาณมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
ผลมีลักษณะเป็นฝักแบนรูปขอบขนาน ผิวเรียบ ฝักอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ฝักแห้งและแตกออกด้านข้าง ภายในมีเมล็ดประมาณ 8-12 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปรีกว้าง
ประโยชน์ สรรพคุณ/การใช้ประโยขน์ : ดอกมีรสหวานใช้เป็นยาแก้ตาอักเสบ ใช้เป็นยาแก้คุดทะราด ใช้เป็นยาแก้ปวดบาดแผล
เปลือกใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ใช้เป็นยาแก้พยาธิ ใช้เป็นยาแก้ตกโลหิต ใช้ฝนรักษาแผลโรคเรื้อน ต้มเอาน้ำแล้วอมแก้อาการปวดฟัน
ใบมีรสฝาดเฝื่อน ใช้เป็นยาแก้ไข้ เป็นยาแก้ท้องร่วง
เนื้อไม้สามารถนำมาใช้สร้างบ้าน ก่อสร้างภายในที่ไม่รับน้ำหนักมาก ทำไม้อัด เป็นเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯชาวไทใหญ่จะใช้ยอดอ่อนในพิธีสร้างบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล