ข้อมูลพรรณไม้ตามโครงการอนุลักษณ์พันธุ์กรรมพืช
ข้อมูลพรรณไม้(วัดวิเชตร์มณี ม.4 ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย)
   
ชื่อพันธุ์ไม้ เขือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ -
ชื่อวงค์ ARECACEAE (PALMAE)
ชื่อสามัญ Fishtail Palm, Burmese Fishtail Palm, Clustered Fishtail Palm, Common Fishtail Palm, Wart Fishtail Palm, Tufted Fishtail Palm
ชื่ออื่นๆ เขื่องหมู่ (ภาคเหนือ), เต่ารั้งมีหน่อ (ภาคกลาง), มะเด็ง (ยะลา), งือเด็ง (มลายู-นราธิวาส) เต่าร้าง, เก๊าหม้าย เก๊ามุ่ย เก๊าเขือง (คนเมือง), มีเซเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), เก๊าเขือง (ไทลื้อ), ซึ (ม้ง), จึ๊ก (ปะหล่อง), ตุ๊ดชุก (ขมุ)
ลักษณะทั่วไป ลักษณะทั่วไป : เป็นพืชในวงศ์ Palmae เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ขนาดใหญ่ ไม่มีหนาม ปล้องบนลำต้นยาว แผ่นใบเป็นร่องรูปตัว V ใบประกอบแบบขนนก ๒ ชั้น ก้านใบยาวขนาดใหญ่ ดอกช่อแยกเพศ ผลสุกสีแดง
ช่วงเวลาการออกดอก : ออกดอกแล้วตาย
ประโยชน์ สรรพคุณ : หัวและราก มีรสหวานเย็นขม ดับพิษที่ตับ ปอด และหัวใจพิการได้ดี
การใช้ประโยขน์ : เป็นไม้ประดับ
ด้านอาหาร รสชาติของยอดเต่าร้างจะคล้ายกับยอดมะพร้าว สามารถนํามาต้มจิ้มน้ำพริก หรือแกงได้ชาวบ้านนิยมนำมาใช้แทนยอดมะพร้าว
ข้อควรระวัง เปลือกผลทำให้ระคายเคือง ลำต้นของต้นจะมีขนและพิษคัน ถ้าโดนมือจะทำให้คันมาก บางคนมีอาการแพ้ชาวบ้านจะเอาส่วนที่มีขนออกให้หมดก่อนจึงจะนํามารับประทานได้
ด้านความเชื่อแบบล้านนา ในวันพญาวัน ช่วงสงกรานต์ชาวล้าน นานิยมใช้กิ่ง ทำเป็นคันสำหรับแขวนตุงปักเจดีย์ทราย ซึ่งประกอบด้วยตุงไส้หมู ตุงชาตา และตุงค่าคิง ตุงไส้หมู มีความหมายตามลักษณะว่าเกี่ยวเกาะพัวพันกันตลอด อยู่ร่วมกันกับญาติพี่น้องอย่างไม่ขาดจากกัน ตุงชาตา หมายถึง การสืบต่อการเกิด (ชะตา) หรือ “อัตตายุกาล” คือดำรงคงอยู่ของตน ตุงค่าคิงคือตุงแทนตน (คิง-ร่างกาย) หมายถึง ยังมีตัวตนอยู่ไม่ได้ล้มหายตายจากโลกนี้ ส่วนเขืองหมายถึง การสืบเนื่องของอายุ และความรุ่งเรืองในชีวิตในชีวิตตามลักษณะทางเสียงที่มีเสียงพ้องสระตามชื่อ “เขือง” ความหมายโดยรวมคือการมีชีวิตที่ยืนนานด้วยความเจริญรุ่งเรืองตลอดแม้กาลเวลาจะผันผ่าไนปแล้วก็ตาม